แอมเนสตี้มอบ "รางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2565" ไทยพีบีเอสร่วมรับรางวัลดีเด่นและชมเชย จากผลงานข่าวและสารคดีเชิงข่าวเพื่อสังคม

14 กุมภาพันธ์ 2566 – แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย จัดงานประกาศผลและมอบรางวัล “รางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2565” (Media Awards 2022) โดยมีผลงานที่ติดโผเข้าชิงกว่า 30 ผลงาน จาก 5 ประเภทรางวัล ซึ่งไทยพีบีเอสมีผลงานเข้าชิง 4 ผลงาน และได้รับรางวัล ดังนี้

  • รางวัลชมเชย ข่าวหรือสารคดีเชิงข่าว ประเภทสื่อออนไลน์ : ผลงานชุด “ทวงคืนความยุติธรรม วาฤทธิ์ สมน้อย ต้องไม่ตายฟรี” สื่อออนไลน์ Decode
  • รางวัลชมเชย ข่าวหรือสารคดีเชิงข่าว ประเภทสื่อโทรทัศน์ (ความยาวรวมไม่เกิน 20 นาที) : ผลงานชุด “ทวงยุติธรรมคืนผืนป่า” สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
  • รางวัลชมเชย สารคดีหรือสารคดีเชิงข่าว ประเภทรายการโทรทัศน์ (ความยาวรวมไม่เกิน 60 นาที) : ผลงานเรื่อง "กาก...เศษซากจากอุตสาหกรรม” รายการ รู้สู้ภัย สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
  • รางวัลดีเด่น สารคดีหรือสารคดีเชิงข่าว ประเภทรายการโทรทัศน์ (ความยาวรวมไม่เกิน 60 นาที) : ผลงานเรื่อง “ผันน้ำแม่ยวม (ไม่) แก้แล้ง” รายการรู้สู้ภัย สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส

 

โดยผลการประกาศรางวัลทั้งหมด มีรายนาม ดังนี้

รางวัลชมเชยข่าวหรือสารคดีข่าว ประเภทสื่อออนไลน์ 6 รางวัล ได้แก่

  • ผลงานชุด “ทวงคืนความยุติธรรม วาฤทธิ์ สมน้อย ต้องไม่ตายฟรี”
    สำนักข่าวออนไลน์ Decode
  • ผลงานเรื่อง “การเดินทางไกล 1,079 กิโลเมตรเพื่อทวงคืนน้ำพริกปลาทู”
    สำนักข่าวออนไลน์ HaRDstories
  • ผลงานเรื่อง “ ‘เรามีหวังเสมอว่าจะได้กลับบ้าน’ เสียงจากริมน้ำเมย ชะตากรรมที่เลือกไม่ได้ของผู้หนีภัยกะเหรี่ยง” เว็บไซต์ 101.world
  • ผลงานเรื่อง “ ‘เด็กขายนมเปรี้ยวกลางแยกไฟแดง' ความน่าสงสารหรือช่องทางธุรกิจ” สำนักข่าว The Isaander
  • ผลงานเรื่อง “นี่ไม่ใช่ครั้งแรกของการอุ้มซ้อมทรมาน แต่เราหวังว่าจะเป็นครั้งสุดท้ายในชายแดนใต้” สำนักข่าวออนไลน์ The Momentum
  • ผลงานชุด “The Price of Freedom | ราคาแห่งเสรีภาพ” สำนักข่าวประชาไท

รางวัลดีเด่นข่าวหรือสารคดีเชิงข่าว ประเภทสื่อโทรทัศน์ (ความยาวรวมไม่เกิน 20 นาที) 1 รางวัล ได้แก่

  • ผลงานชุด "28 ปี เหมืองดงมะไฟ รอยเลือดและคราบน้ำตา" สถานีโทรทัศน์ช่องวัน 31

รางวัลชมเชยข่าวหรือสารคดีเชิงข่าว ประเภทสื่อโทรทัศน์ (ความยาวรวมไม่เกิน 20 นาที) 3 รางวัล ได้แก่

  • ผลงานชุด “ขยายผลคดีค้ามนุษย์โรฮิงญา จากกรณี พล.ต.ต.ปวีณ พงศ์สิรินทร์ ปรากฏตัว” สถานีโทรทัศน์พีพีทีวี เอชดี ช่อง 36
  • ผลงานชุด “ทวงยุติธรรมคืนผืนป่า” สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
  • ผลงานเรื่อง “ปิดล้อม วิสามัญฯ สันติภาพใต้รางเลือน” สถานีโทรทัศน์ Nation TV

รางวัลดีเด่นสารคดีหรือสารคดีเชิงข่าว ประเภทรายการโทรทัศน์ (ความยาวรวมไม่เกิน 60 นาที) 1 รางวัล ได้แก่

  • ผลงานเรื่อง “ผันน้ำแม่ยวม (ไม่) แก้แล้ง” รายการรู้สู้ภัย สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส

รางวัลชมเชยสารคดีหรือสารคดีเชิงข่าว ประเภทรายการโทรทัศน์ (ความยาวรวมไม่เกิน 60 นาที) 2 รางวัล ได้แก่

  • ผลงานเรื่อง "กาก...เศษซากจากอุตสาหกรรม” รายการรู้สู้ภัย สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
  • ผลงานเรื่อง “มลายูปาตานี” รายการสารตั้งต้น สถานีโทรทัศน์พีพีทีวี เอชดี ช่อง 36

รางวัลดีเด่นข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่นำเสนอในรูปแบบคลิปวิดีโอออนไลน์ 2 รางวัล ได้แก่

  • ผลงานเรื่อง “SUNSET WITH BENJA” โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw)
  • ผลงานเรื่อง “From Trojan Horse to Pegasus: When the Big Brother is watching you” เว็บไซต์ 101.world

รางวัลชมเชยข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่นำเสนอในรูปแบบคลิปวิดีโอออนไลน์ 5 รางวัล ได้แก่

  • ผลงานเรื่อง “ชุมชนตึกร้าง 95/1 หลากชีวิตบนซากคอนกรีต” เว็บไซต์ 101.world
  • ผลงานเรื่อง “ ‘สุนทรีย์มลายู’ เมื่อความฝันกับสิ่งที่ศรัทธา ต้องยืนอยู่บนเส้นทางเดียวกัน” สำนักข่าวออนไลน์ The Momentum
  • ผลงานเรื่อง “ดวงตามืดมิด ชีวิตมืดมน คุยกับ บุญสม ปิ่นสุวรรณ หญิงข้ามเพศตาบอดที่มีเชื้อ HIV” สื่อออนไลน์ SPECTRUM
  • ผลงานเรื่อง “ปิศาจในสังคม: 6 ตุลาของฝ่ายขวา และความเปลี่ยนแปลง”
    เว็บไซต์ WAY Magazine
  • ผลงานเรื่อง “ ‘ให้เราเอาบาปไปคุยกับพระเจ้าเอง’ ฟังเสียง LGBTQ ผู้นับถือศาสนาอิสลาม” สำนักข่าวออนไลน์ The MATTER 

รางวัลดีเด่นภาพถ่ายในหัวข้อ “Protect the Protest” ประเภทสื่อมวลชน 1 รางวัล ได้แก่ 

  • ผลงานโดย เมธิชัย เตียวนะ จากเว็บไซต์ 101.world

รางวัลชมเชยภาพถ่ายในหัวข้อ “Protect the Protest” ประเภทสื่อมวลชน 4 รางวัล ได้แก่

  • ผลงานโดย ชำนาญวุฒิ สุขุมวานิช จากสำนักข่าวไทยออนไลน์
  • ผลงานโดย ณัฐพล โลวะกิจ จาก SPACEBAR
  • ผลงานโดย ณัฐพล พันธ์พงษ์สานนท์ จาก SPACEBAR
  • ผลงานโดย ปฏิภัทร จันทร์ทอง ว๊อยซ์ออนไลน์

รางวัลป๊อปปูล่าโหวตภาพถ่ายในหัวข้อ “Protect the Protest” ประเภทสื่อมวลชน 1 รางวัล ได้แก่

  • ผลงานโดย ณัฐพล พันธ์พงษ์สานนท์ จาก SPACEBAR

รางวัลดีเด่นภาพถ่ายในหัวข้อ “Hope” ประเภทประชาชนทั่วไป 1 รางวัล ได้แก่

  • ผลงานโดย ศุภสัณห์ กันณรงค์

รางวัลชมเชยภาพถ่ายในหัวข้อ “Hope” ประเภทประชาชนทั่วไป 4 รางวัล ได้แก่

  • ผลงานโดย วิหาร ขวัญดี
  • ผลงานโดย ศิริพงศ์ ปทุมอครินทร์
  • ผลงานโดย ชนากานต์ เหล่าสารคาม
  • ผลงานโดย ฉัฐพัชร์ สุวรรณยุหะ

รางวัลป๊อปปูล่าโหวตภาพถ่ายในหัวข้อ “Hope” ประเภทประชาชนทั่วไป 1 รางวัล ได้แก่

  • ผลงานโดย ศุภสัณห์ กันณรงค์

ติดตามทุกผลงานได้ทาง ไทยพีบีเอส ช่องหมายเลข 3 และทางออนไลน์

Website www.thaipbs.or.th 

Aplication ThaiPBS 

Facebook @ThaiPBS

YouTube  @ThaiPBS 

Twitter @ThaiPBS 

LINE @ThaiPBS 

TikTok @ThaiPBS  

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวประชาสัมพันธ์

บทสัมภาษณ์ผู้บริหาร

ข่าวกิจกรรม

กลับขึ้นด้านบน