คำถามที่พบบ่อย

  • สัญญาณภาพ ที่บ้านไม่ชัดเจนเลย ทำอย่างไรดี ?

    การรับสัญญาณการรับชมช่องไทยพีบีเอส
    สามารถตรวจสอบการปรับเสาอากาศได้ที่ วิธีการรับสัญญาณโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
    หรือหากมีข้อสงสัยใดๆ ท่านสามารถแจ้งปัญหาการรับชม ตามช่องทางดังต่อไปนี้
    1. เบอร์โทรศัพท์ => 02-790-2314
    2. e-mail => technic@thaipbs.or.th
    3. twitter => @EngineerThaiPBS

  • สามารถดูเว็บไซต์ไทยพีบีเอส ผ่านบราวเซอร์ไหน ได้บ้าง ?

    บราวเซอร์ที่เหมาะสม ควรใช้ Microsoft Internet Explorer เวอร์ชั่น 6.0 Resolutions ที่ 1024x768 หรือสามารถใช้บราวเซอร์
    • MSIE ตั้งแต่เวอร์ชั่น 7.0 ขึ้นไป
    • Firefox ตั้งแต่เวอร์ชั่น 3.5 ขึ้นไป
    • Opera ตั้งแต่เวอร์ชั่น 7.5 ขึ้นไป
    • Chrome

  • มีรับสมัครเป็นสมาชิกของไทยพีบีเอสหรือไม่ ?

    การสมัครสมาชิกของเว็บไซต์ไทยพีบีเอสมีแน่นอนค่ะ และจะมีสิทธิพิเศษบริการที่น่าสนใจให้กับสมาชิกด้วย อดใจรอใน Phase II ของเว็บไซต์ใหม่นี้นะคะ

  • ระบบ HD ที่จะใช้ออกอากาศ จะเป็นรูปแบบใดครับ หมายถึงระบบที่ส่ง DVB-T ใช้เสา หรือ DVB-S ใช้ดาวเทียม หรือทั้ง 2 อย่าง ?

    ปัจจุบันส่งผ่านดาวเทียมระบบ DVB-S2 ครับ ส่วนระบบ DVB-T นั้นยังไม่มีการส่งฯ ครับ คงต้องรอการอนุญาต
    จากสำนักงาน กสทช. ก่อนครับ ส่วนประเทศไทยจะส่งระบบ DVB-T2

  • จะออกอากาศแบบ HD พฤษภาคมนี้จริงหรือครับ ?

    ถูกต้องครับ หากมีการเปลี่ยนแปลง Thai PBS จะแจ้งผ่านทางหน้าจอทีวี และช่องทางอื่นๆ ให้ทราบอีกครั้งครับ

  • แล้วเป็นไปได้ไหมที่ประชาชนทั่วไปจะได้ดูในแบบ HD ?

    หากคำถามหมายถึงประชาชนที่รับชมผ่านทางแผงสายอากาศแบบยากิ (ก้างปลา) ซึ่งเกิดจากการส่งสัญญาณโทรทัศน์
    ทางภาคพื้นดินนั้น ขอตอบว่าเป็นไปได้ครับ แต่ต้องรอการอนุญาตให้เปิดดำเนินการ การส่งสัญญาณโทรทัศน์ระบบ
    ดิจิทัลภาคพื้นดิน (DTTV : Digital Terrestrial Television) จากสำนักงาน กสทช. ก่อนครับ

  • แล้วจะรับชม HD ได้อย่างไร? คุณภาพ HD เป็นแบบไหนครับ 1080i หรือไม่ ?

    ท่านที่ต้องการรับชมสัญญาณภาพแบบ HD ของ Thai PBS นั้น ต้องรับชมผ่านทางระบบดาวเทียมเท่านั้น และคุณภาพ
    ความชัดเจน (Resolution) 1920x1080i ครับ

  • อยากทราบว่า ระบบสัญญาณทีวี HD ที่จะออกอากาศ ใช้อะไรในการ ส่งจากเสาส่ง - รับสัญญาณ จากบ้านครับ?

    การส่งสัญญาณโทรทัศน์ระบบ HD ขณะนี้ Thai PBS ส่งผ่านดาวเทียมเท่านั้นครับ

  • ผมจะรับสัญญาณ HD ได้ยังไงบ้างครับ ?

    คุณจะต้องมีเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม (IRD) แบบ DVB-S2 และเครื่องรับโทรทัศน์ชนิด Plasma, LCD,LED
    ที่รองรับ HD (1920x1080i) โดยใช้จานดาวเทียม C-Band เดิม คุณก็สามารถรับชมรายโทรทัศน์ HD ของไทยพีบีเอส
    ได้อย่างชัดเจน

  • ข้อมูลเบื้องต้น

    ไทยพีบีเอสเตรียมย้ายการออกอากาศ มาที่อาคารสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ พร้อมเปลี่ยนการออกอากาศเป็นระบบความชัดเจนสูง หรือ HD จึงมีผู้ชมสอบถามเกี่ยวกับเรื่อง HD ของไทยพีบีเอส กันมากพอสมควรครับ ก่อนจะตอบคำถาม Mr.HD ขออนุญาตอธิบาย ลักษณะการส่งสัญญาณในระบบ HD เบื้องต้นให้ทราบก่อนนะครับ

     

    การส่งสัญญาณโทรทัศน์ของไทยพีบีเอส มีด้วยกัน 2 ลักษณะ คือ


    1. การส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านภาคพื้นดิน รับชมโดยใช้แผงสายอากาศแบบยากิ(ก้างปลา) ซึ่งมีการส่งสัญญาณในระบบ SD เท่านั้น

    2. การส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม รับชมผ่านจานดาวเทียม
    C-band (จานดำ) ซึ่งมีการส่งสัญญาณ 2 ระบบ ดังนี้ครับ
    2.1 การส่งสัญญาณในระบบ SD ตามมาตรฐานของ DVB-S
    2.2 การส่งสัญญาณในระบบ HD, SD ตามมาตรฐานของ DVB-S2


    การเลือกซื้อเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม (IRD) เพื่อใช้รับชมสัญญาณที่เป็นระบบ HD นั้น จะต้องซื้อเครื่องรับดาวเทียมที่มีตัวอักษรระบุด้วยว่า เป็นมาตรฐาน DVB-S2 (หากเครื่องรับดาวเทียมเป็นรุ่นที่ระบุว่า DVB-S2 จะสามารถรับชม ได้ทั้งแบบ SD, HD และสามารถรองรับระบบ DVB-S เดิมได้ด้วยครับ)


    การตั้งค่าเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมเพื่อรับชมสัญญาณภาพแบบ HD

    Satellite Thaicom 5 C-Band
    Frequency 3990 MHz
    Symbol Rate 12 Msym/s
    FEC 2/3
    Polarity Vertical



    จากข้อมูลข้างต้นนี้ ก็จะทำให้ทราบแล้วใช่มั้ยครับว่า การรับชมสัญญาณภาพแบบ HD นั้น สามารถรับชมได้จากระบบดาวเทียมเท่านั้นครับ ส่วนการรับชมระบบ HD ทางภาคพื้นดินนั้นคงต้องรอไปก่อน เนื่องจากการออกอากาศโทรทัศน์ระบบดิจิทัล ภาคพื้นดิน (DTTV : Digital Terrestrial Television) ยังไม่ได้รับการอนุญาตให้ออกอากาศจากสำนักงาน กสทช. ครับ และนี่คือคำถามที่ผู้ชมไทยพีบีเอสสอบถามเข้ามา

  • อยากหาซื้อซีรีส์จีนและญี่ปุ่นที่ฉายทางสถานี ไม่ทราบว่าจะซื้อได้ที่ไหน หรือมาซื้อที่สถานีได้หรือไม่ ?

    ซีรีส์ต่างๆ ที่ออกอากาศนั้น สถานีซื้อสิทธิ์จากเจ้าของลิขสิทธิ์มาเพื่อการแพร่ภาพทางหน้าจอเท่านั้น จึงไม่ได้มีการจัดทำเป็นสื่อรูปแบบอื่นเพื่อจำหน่าย คงต้องรบกวนสอบถามจากบริษัทเจ้าของลิขสิทธิ์
    หรือร้านจำหน่ายวีดีโอทั่วไป

  • เป็นบริษัทผู้ผลิตรายการ และสนใจอยากจะนำรายการมาเสนอให้ทางไทยพีบีเอส ต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง ?

    กลุ่มบุคคล, องค์กรภาครัฐหรือเอกชนที่สนใจนำเสนอรายการให้ทางสถานีพิจารณา สามารถนำเสนอโดยตรง
    ที่ฝ่ายรายการ ชั้น 3 อาคาร A องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย
    เลขที่ 145 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กทม.10210 [ แผนที่ ]

  • อยากขอสำเนาเทปรายการที่ออกอากาศไปแล้ว ไม่ทราบว่าจะต้องดำเนินการอย่างไร ?

    การติดต่อเพื่อขอสำเนาภาพข่าว และเทปรายการต่างๆ นั้น ท่านสามารถเขียนจดหมายติดต่อ
    หรือส่งแฟกซ์มาที่ ผู้อำนวยการฝ่ายข่าว หรือ ผู้อำนวยการฝ่ายรายการ ซึ่งจะมีทั้งแบบการอนุมัติโดย
    ไม่เสียค่าใช้จ่ายและมีค่าใช้จ่าย ตามระเบียบขององค์การ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของวัตถุประสงค์และองค์กร
    ที่นำไปใช้

    โดยท่านสามารถดูรายละเอียด และเงื่อนไขค่าบริการรวมทั้งดาวน์โหลดแบบฟอร์มคำขอได้จาก
    www.thaipbs.or.th/copytape หรือที่หน้าหลักของ www.thaipbs.or.th แล้วคลิกที่
    แบนเนอร์ด้านล่าง “การขอสำเนาเทปรายการ”

  • ติดตามรายการโปรดไม่ทัน จะชมรายการย้อนหลังได้หรือไม่ ?

    สามารถคลิกดูคลิปย้อนหลังได้ในรายการต่าง ๆ ที่มีในเมนูรายการได้เลยค่ะ หรือคลิกที่ www.thaipbs.or.th/clip

  • มีเรื่องเดือดร้อน อยากพึ่ง “สถานีประชาชน” ให้ช่วยเหลือไม่ทราบว่ามีขั้นตอนอย่างไร ?

    “สถานีประชาชน” เป็นรายการเพื่อช่วยเหลือประชาชน และเป็นเวทีเพื่อปากเสียงของคนไทยทุกคนครับ อาทิ
    ใครที่ต้องการประกาศคนหาย ของหาย แจ้งเรื่อง ปรึกษากฎหมาย หรือแจ้งปัญหาทุกข์ชาวบ้านต่างๆ
    รวมทั้งข่าวประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานภาครัฐที่น่าสนใจก็สามารถมาติดต่อกับรายการได้

    โดยมีช่องทางในการติดต่อสื่อสารผ่านทางรายการ มีดังนี้
    1. ทางโทรศัพท์
    02-790-2111 หรือ 02-790-2000 (ทุกวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 - 18.00 น.)

    2. ทางโทรสาร
    02-790-2089 กรุณาระบุ “รายการสถานีประชาชน”

    3. อีเมล์รายการ
    people@thaipbs.or.th

    4. SMS
    ส่งมาได้ที่ 4268822 (ครั้งละ 1.50 บาท)

    5. ทางจดหมาย
    ส่งถึง รายการสถานีประชาชน สำนักข่าว
    เลขที่ 145 อาคารสำนักงานใหญ่ไทยพีบีเอส ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กทม.10210
    หรือ ตู้ ป.ณ.5 ปณฝ. เสนานิคม กรุงเทพฯ 10902 (ระบุถึง "รายการสถานีประชาชน")

    6. มาด้วยตนเอง [ แผนที่ ]
    รายการสถานีประชาชน
    อาคารสำนักงานใหญ่ไทยพีบีเอส เลขที่ 145 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กทม. 10210
    (ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 09.00 - 18.00 น. หยุดวันเสาร์ - อาทิตย์)

    การเดินทาง
    ● รถยนต์ส่วนบุคคล
    อาคารสำนักงานใหญ่ 145 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
    [ แผนที่ ]

    ● รถเมล์สาธารณะ
    รถเมล์ฝั่งขาออกที่ผ่าน รถเมล์สาย 52, 29, 59, 95, 504, 510, 513, 538, ปอ. 29, ปอพ. 504
    รถเมล์ฝั่งขาเข้าที่ผ่าน รถเมล์สาย 52, 29, 59, 95, 187, 504, 510, 519, 555

  • ทีวีสาธารณะ คืออะไร ? ผู้ชมทั่วไปจะมีส่วนร่วมได้อย่างไร ?

    ขอเล่าโดยสรุปว่า “ไทยพีบีเอส” เกิดขึ้นจาก “พระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียง และแพร่ภาพสาธารณะ
    แห่งประเทศไทย พ.ศ.๒๕๕๑” ที่กำหนดให้มีสถานีนี้เพื่อให้ความรู้ข้อมูลข่าวสาร ที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน
    อย่างทั่วถึง โดยไม่มีค่าใช้จ่าย และการดำเนินการไม่มุ่งหวังผลกำไร

    ภายใต้การควบคุมดูแลของคณะกรรมการนโยบายฯ ผู้ชมสามารถมีส่วนร่วมได้ โดยส่งความเห็นของท่าน
    มายังคณะกรรมการฯ สำหรับรายละเอียดของพระราชบัญญัติฯ และวัตถุประสงค์ขององค์การฯ
    โดยท่านสามารถติดตามได้จาก org.thaipbs.or.th

  • สนใจร่วมงานกับสถานี ไม่ทราบว่าจะมีการเปิดรับสมัครพนักงานไหม ?

    ผู้ชมสามารถติดตามข่าวการรับสมัครงานขององค์การ ได้ทางหน้าจอไทยพีบีเอส และในหน้า
    org.thaipbs.or.th คลิกไปที่หน้า "ประกาศรับสมัครงาน"

    ช่องทางการสอบถามข้อมูลการเปิดรับสมัครงาน
    1. เบอร์โทรศัพท์ => 02-790-2202
    2. e-mail => job@thaipbs.or.th
    3. สอบถามกรณีนักศึกษาฝึกงาน => โทร. 02-790-2206 (วันและเวลาทำการ)

  • รับสัญญาณภาพจากเครื่องรับดาวเทียมได้ชัดเจนแต่การรับสัญญาณเสียงมีปัญหาฟังได้เป็นบางครั้ง หรือฟังไม่ได้เลย แต่รับฟังเสียง Soundtrack ได้ดีจะแก้ไขได้อย่างไร ?

    สามารถแก้ไขได้ดังนี้ หาปุ่ม Audio ที่ remote control แล้วเลือกเป็นเสียง Audio 1 หรือ Language1
    (แล้วแต่ยี่ห้อ และรุ่นของเครื่อง Receiver) ก็จะสามารถรับสัญญาณเสียงได้ตลอด ในทางกลับกันหากต้องการ
    รับฟังเสียง Soundtrack ให้เลือกเป็น Audio 2

  • หากไม่สามารถรับสัญญาณจากดาวเทียมได้ จะตรวจสอบเบื่องต้นสามารถทำได้อย่างไร ?

    ให้ทำการตรวจสอบดังนี้

    1. Level จะต้องมีเสมอ
    (ถ้าไม่มีก็ไม่สามารถรับสัญญาณได้ Quality = 0 แน่นอน ยกเว้นในระบบมีเครื่องต่ออยู่หลาย เครื่องแต่ก็ต้อง
    มีอยู่ 1 เครื่อง จ่ายไฟให้กับ LNB)เนื่องจากเป็นค่าที่บอกว่ามีไฟไปจ่ายให้กับ LNB หรือไม่ ก็เกิด จากจากสาเหตุ
    ต่างๆกัน เช่น LNB ชำรุด , สายสัญญาณหลุด ,ไม่ได้สั่งให้ LNB Power supply= ON ฯลฯ

    2. Quality จะรับสัญญาณได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ
    2.1 ขนาดของจานรับ ยิ่งใหญ่ก็รับได้แรง ยิ่งเล็กก็รับได้ต่ำ
    (ถ้า Scale ของ Quality= 0-100 สัญญาณที่รับได้ 30 ขึ้นไปก็เพียงพอแล้ว)
    2.2 การตั้งจานรับสัญญาณได้ไม่ตรงกับดาวเทียมจะไม่ได้ค่าความแรงของสัญญาณสูงสุด
    2.3 การปรับจุด Focus ของ LNB ไม่ตรงกับจุด Focus ของจานรับสัญญาณดาวเทียม
    2.4 การตั้ง Polarization ของ LNB ไม่ตรงกับแนวการรับสัญญาณที่ส่งมาจากดาวเทียม มี 2 แนวคือ
    Hor. และ Ver.

    3. รับสัญญาณได้แรงดี ค่าต่างๆ ถูกต้อง ค้นหาสัญญาณแล้วก็ยังรับชมรายการไม่ได้ ให้ตรวจสอบดังนี้
    ช่องที่ทำการค้นหาสัญญาณ อาจไปอยู่สุดท้ายของช่องรายการทั้งหมด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเช่นนั้น

  • ไม่สามารถรับสัญญาณดาวเทียมได้ สาเหตุของปัญหาเกิดจากอะไร ?

    เกิดจากจานรับสัญญาณทียมเคลื่อนไม่สามารถรับสัญญาณได้ แก้ไขได้โดยจะต้องปรับจานรับสัญญาณดาวเทียมใหม่
    หรือถ้าจานรับสัญญาณดาวเทียมมีขนาดต่ำกว่า 5.5 ฟุต จะทำให้รับสัญญาณได้ต่ำหรือไม่ได้เลย มีทางแก้ไขคือ
    ต้องเปลี่ยนจานใหม่ ขนาดที่รับสัญญาณได้ดีมีเสถียรภาพในการรับสัญญาณที่ดี จะต้องไม่ต่ำกว่า 6 ฟุต

  • ถ้าค่าพารามิเตอร์ของเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมหายไป จะทำการปรับค่าพารามิเตอร์อย่างไร ?

    การรับสัญญาณดาวเทียม ให้ Set ค่าพารามิเตอร์ ดังนี้
    • Frequency = 4017 MHz
    • Symbol rate (S/R) = 01800 Msps
    • Polarization = Ver.
    • FEC = 3/4 หรือ Auto

  • อยู่ต่างประเทศสามารถรับชมรายการสด และรายการย้อนหลังได้หรือไม่ ?

    ท่านสามารถรับชมรายการสด (TV Online) และคลิปย้อนหลังได้จากทุกที่ทั่วโลกที่สามารถเชื่อมโยง
    อินเตอร์เน็ตได้ค่ะ แล้วถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถรองรับภาษาไทยได้ ก็จะสามารถติดตามข่าวสาร
    และรายการต่างๆ ได้เช่นกัน

    ช่องทางการรับชมรายการของไทยพีบีเอส
    1. ชมสด => www.thaipbs.or.th/Live
    2. ชมย้อนหลัง => www.thaipbs.or.th/Clip

กลับขึ้นด้านบน