มติที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเห็นชอบรายชื่อ "รองผู้อำนวยการ ส.ส.ท."

วันนี้ (12 กุมภาพันธ์ 2559) ผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) ได้นำเสนอรายชื่อรองผู้อำนวยการ ส.ส.ท. ต่อคณะกรรมการนโยบาย ส.ส.ท. เพื่อให้การบริหารงานและการปฏิบัติหน้าที่ของผู้อำนวยการ ส.ส.ท. เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ คณะกรรมการนโยบายจึงมีมติเห็นชอบรายชื่อรองผู้อำนวยการ ส.ส.ท. ดังนี้

  1. นายอนุพงษ์ ไชยฤทธิ์
  2. นายสุวิทย์ สาสนพิจิตร์
  3. รศ.ดร.วิลาสินี พิพิธกุล

 

ประวัติรองผู้อำนวยการ ส.ส.ท. ทั้ง 3 ท่าน

ประวัติการศึกษา

ปริญญาตรี : ศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาษาเยอรมัน) มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ประวัติการทำงาน

ด้านงานสื่อมวลชน

  • ปี 2529 ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์มติชน
  • ปี 2530 ผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์
  • ปี 2537 บรรณาธิการบริหาร สำนักข่าวไทยสกาย
  • ปี 2540 Producer/ Reporter BBC World Service, London, UK
  • ปี 2543 BBC World Service’s Representative in Thailand
  • ปี 2545 ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารสื่อและข้อมูล บริษัท แฟมมิลี่ โนฮาว จำกัด (บริษัทย่อยของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย)
  • ปี 2549 ผู้อำนวยการสำนักกรรมการผู้จัดการ บริษัท แฟมมิลี่ โนฮาว จำกัด
  • ปี 2551 บรรณาธิการบริหาร สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
  • ปี 2552 รักษาการผู้อำนวยการสำนักสถานีวิทยุและมัลติมีเดีย องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย
  • ปี 2554 ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจโทรทัศน์ บริษัท แฟมมิลี่ โนฮาว จำกัด
  • ปี 2556 รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท มีเดีย สตูดิโอ จำกัด (บริษัทย่อยของบ.กรุงเทพวิทยุและโทรทัศน์) สายงานข่าวและวิศวกรรม
  • ปี 2558 ผู้จัดการฝ่ายศูนย์พัฒนาบริการเนื้อหาข่าวและรายการ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย

การดูงานและฝึกอบรม

  • ปี 2532 Business news writing Reuters Foundation
  • ปี 2535 โครงการอบรมความรู้เศรษฐศาสตร์สำหรับผู้สื่อข่าว คณะเศรษฐศาสตร์ มธ. ร่วมกับสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ 
  • ปี 2540 Radio Journalism BBC World Service
  • ปี 2542 Statical Journalism BBC World Service
  • ปี 2551 Malaysia International visitors programme The Institute of Strategic and International Studies Malaysia
  • ปี 2552 International visitor leadership programme on public broadcasting US State Department
  • ปี 2552 Making Television News and Visual Grammar Thompson Reuters Foundation
  • ปี 2557 Backpack Journalism Workshop Prof Bill Gentile, American University Washington DC.

บทบาทในสมาคมวิชาชีพสื่อมวลชน

  • ปี 2553 - 2554 กรรมการฝ่ายต่างประเทศ สมาคมนักข่าววิทยุโทรทัศน์ไทย

ความเชี่ยวชาญทางด้านงานที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์

  • ปี 2545 คณะทำงานโครงการให้เงินทำงานผ่านกองทุนรวม
  • ปี 2546 คณะทำงานที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์ กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง กระทรวงการคลัง
  • ปี 2547 หัวหน้าโครงการที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ให้กับ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง

 

ประวัติการศึกษา

ปริญญาตรี : สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประวัติการทำงาน

  • ปี 2528 - 2529 กลุ่มนักแสดงอิสระ “ซูโม่สำอาง” - รวมกลุ่มกับเพื่อนและนักแสดงรุ่นพี่ จรัสพงษ์ สุรัสวดี ปัญญา นิรันดร์กุล ภิญโญ รู้ธรรม วัชระ ปานเอี่ยม จัดตั้งคณะแสดงและผู้ผลิตรายการผลิตรายการบันเทิงให้บริษัทไนท์สปอต เอ็นเตอร์เทนเม้นต์ ชื่อรายการ เพชรฆาต ความเครียด ออกอากาศทางช่อง 9 เป็นรายการที่สร้างความนิยมให้ ช่อง 9 ในช่วงเวลาหลังข่าวค่ำ

  • ปี 2529 - 2531 สถาปนิก กรมช่างโยธา กองทัพเรือ - รับราชการในตำแหน่ง นายช่างสถาปนิก ยศสุดท้ายที่ได้รับพระราชทานยศ เรือโท สังกัดกองออกแบบโยธา กรมวิศวกรรมโยธา ฐานทัพเรือสัตหีบ กองทัพเรือ

  • ปี 2531 - 2552 บริษัท เจเอสแอล โกลบอล มีเดีย จำกัด - เริ่มต้นงานด้านผลิตรายการโทรทัศน์ ในตำแหน่งครีเอทีฟรายการโทรทัศน์ และ โปรดิวเซอร์รายการ ร่วมริเริ่มสร้างสรรค์รายการ ที่ได้รับความสำเร็จอย่าง สูง ได้แก่ รายการจันทร์กะพริบ รายการเจาะใจ และรายการละครประเภทต่างๆ ในปี 2538 เป็นผู้อำนวยการฝ่ายบริหารและสร้างสรรค์ เพื่อเสนอโครงการ ประกวดการจัดพิธีเปิดและปิดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 23 Bangkok Games วันที่ 6 - 25 ธันวาคม 2541 และได้รับการเลือกให้เป็นผู้ดำเนินการ

  • ปี 2552 - 2557 ผู้อำนวยการสำนักรายการ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
    องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย

  • ปี 2558 ถึง ปัจจุบัน ผู้อำนวยการฝ่ายรายการ สถานีโทรทัศน์ไทยรัฐทีวี

 

ประวัติการศึกษา

  • ปี 2540 - 2544 Ph.D. in Women’s Studies (focus on media & cultural studies), University of Kent, U.K. (ทุนก.พ.)
  • ปี 2539 - 2540 M.A. in Women’s Studies, University of Kent, U.K. (ทุนก.พ.)
  • ปี 2534 - 2536 ปริญญาโท (นศ.ม.) สื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (วิทยานิพนธ์ดีเด่นเรื่องการสื่อสารเพื่อลดความเสี่ยงทางสิ่งแวดล้อม)
  • ปี 2525 - 2528 ปริญญาตรี (นศ.บ.) หนังสือพิมพ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เกียรตินิยม)

ประวัติการฝึกอบรม

  • ปี 2554 (กรกฎาคม)
    ประกาศนียบัตร หลักสูตร Social Determinants of Health (SDH) จัดโดย Summer School of University College of London, London, U.K.
  • ปี 2551 (เมษายน)
    ประกาศนียบัตร หลักสูตร Director Certification Program (DCP) จัดโดย สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)
  • ปี 2550 (มิถุนายน)
    ประกาศนียบัตร หลักสูตร International program for Development Evaluation Training จัดโดย World Bank และ Carleton University, Ottawa, Canada
    ร่วมประชุมและศึกษาดูงานนานาชาติด้านการสร้างเสริมสุขภาพในประเด็นต่างๆ จํานวนไม่น้อยกว่า 10 ครั้ง ฯลฯ

ประวัติการทำงาน 

  • ปี 2536 – 2549 อาจารย์ประจําภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ปี 2546 - 2548 รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ปี 2535 - 2536 ผู้ช่วยคณบดี คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยโยนก จ.ลําปาง
    ปี 2528 - 2535 ผู้อํานวยการโครงการฝึกอบรม สถาบันพัฒนาการหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และบรรณาธิการ วารสารสื่อมวลชนปริทัศน์ (เป็นสถาบันที่ดําเนินงานด้านพัฒนาศักยภาพสื่อมวลชน และงานเผยแพร่องค์ความรู้ด้านสื่อในระดับประเทศและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้รับทุนสนับสนุนจากองค์การ ระหว่างประเทศหลายแห่ง ปัจจุบันยุติบทบาทและโอนภาระให้แก่ สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย)

กิจกรรมบริการสังคมและวิชาการ (บันทึกจาก พ.ศ. 2546 – 2558)

  • กรรมการบริหาร ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) (พ.ศ. 2557)
  • อนุกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติกองทุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (พ.ศ. 2556 และ พ.ศ. 2557 – 2558)
  • กรรมการสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์แห่งชาติ สํานักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2554)
  • อนุกรรมการสื่อสารสังคม ในคณะกรรมการสุขภาพดีวิถีไทย กระทรวงสาธารณสุข (พ.ศ. 2554 - 2556)
  • กรรมการส่งเสริมวาระการอ่านเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต สํานักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2552 - 2555)
  • กรรมการการสื่อสารเพื่อการปฏิรูป ในคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป (พ.ศ. 2553 - 2556)
  • กรรมการศึกษาแนวทางการปฏิรูปสื่อภาครัฐ สํานักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2552 - 2553)
  • กรรมการสรรหากรรมการนโยบายองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2551 - 2557)
  • กรรมการ บมจ. อสมท. (มหาชน) (พ.ศ. 2549 - 2551)
  • กรรมการพัฒนาระบบการจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ สํานักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2550 - 2552)
  • กรรมการประสานงานขับเคลื่อนวาระแห่งชาติสื่อเพื่อเด็กและเยาวชน (พ.ศ. 2550 - 2552)
  • คณะทํางานเตรียมการบริหารจัดการสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาสําหรับปวงชน กระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2548 – 2550)
  • อนุกรรมการจัดทําแผนพัฒนาสตรีแห่งชาติ ฉบับที่ 10 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พ.ศ. 2549 - 2550)
  • ประธานเครือข่ายสื่อสตรี สํานักกิจการสตรีและครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พ.ศ. 2544 – 2549)
  • ประธานมูลนิธิเพื่อนหญิง (พ.ศ. 2546 – 2548)
  • กรรมการมูลนิธิส่งเสริมสุขภาพผู้หญิง (พ.ศ. 2547 – 2549)
  • กรรมการเครือข่ายผู้หญิงกับรัฐธรรมนูญ (พ.ศ. 2546 - 2549)
  • ที่ปรึกษา โครงการศึกษาและเฝ้าระวังสื่อเพื่อสุขภาวะ (Media Monitor) (พ.ศ. 2548 )
  • อนุกรรมการฝ่ายวิชาการ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2546 – 2548)
  • อนุกรรมการรับเรื่องราวร้องทุกข์ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2546 - 2550)
  • กรรมการสถาบันพัฒนาสื่อภาคประชาชน มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา (พ.ศ. 2546 - 2550)
  • กรรมการพัฒนาคู่มือการรายงานข่าวเรื่องเพศและเรื่องสตรี สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2547 – 2550)
  • กรรมการโครงการสื่อสันติภาพจับจ้องมองสื่อ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. 2546 - 2549)
  • กรรมการศูนย์ศึกษาและพัฒนาแนวทางสันติวิธี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. 2548)
  • อนุกรรมาธิการการปฏิรูปสื่อ คณะกรรมาธิการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ วุฒิสภา (พ.ศ. 2546 - 2549)
  • อนุกรรมการพิจารณาการแทรกแซงสื่อ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (พ.ศ. 2545 – 2548)
  • อนุกรรมการการรณรงค์และเผยแพร่ประเด็นสิทธิมนุษยชน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (พ.ศ. 2547 – 2548)
  • ที่ปรึกษา กรรมาธิการกิจการสตรีเด็กเยาวชนและผู้สูงอายุ วุฒิสภา (พ.ศ. 2546 – 2547)
  • อาจารย์ประจําพิเศษ หลักสูตรปริญญาโทสตรีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (พ.ศ. 2544 - 2551)
  • อาจารย์ประจําพิเศษ หลักสูตรปริญญาเอก สหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (พ.ศ. 2546 - 2549)
  • อาจารย์พิเศษ หลักสูตรปริญญาโท นิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (พ.ศ. 2546 - 2549)
  • อาจารย์พิเศษ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. 2549 - 2557)
  • หัวหน้าโครงการวิจัยเพศกับการสื่อสารในสังคมไทย ทุนวิจัยสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (พ.ศ. 2546 – 2549)
  • นักวิจัยโครงการวิจัย “ปฏิรูประบบสื่อ” ทุนวิจัยสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (พ.ศ. 2546 - 2548)
  • ที่ปรึกษาฝ่ายวิจัย โครงการวิจัยและพัฒนาทีวีเพื่อเด็กเยาวชนและครอบครัว ทุนวิจัยสํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (พ.ศ. 2547 – 2549)
  • นักวิจัย โครงการสื่อเพื่อเด็กและสิทธิมนุษยชนของเด็ก ทุนวิจัยโครงการนโยบายสาธารณะ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (พ.ศ. 2548 – 2549)
  • หัวหน้าโครงการพลังการสื่อสารเพื่อฟื้นฟูชุมชนหลังภัยพิบัติสึนามิ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ ทุนสนับสนุนของสํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (พ.ศ. 2547 – 2548)
  • ผู้จัดรายการวิทยุมองชีวิตมีชีวา FM 96.5 อสมท. วันพฤหัสบดี เวลา 20.30 – 21.30 น. (พ.ศ. 2550 - 2552)
  • ผู้จัดรายการวิทยุสื่อสันติภาพ: จับจ้องมองสื่อ วันอาทิตย์ เวลา 09.00 - 10.00 น. สถานีวิทยุจุฬา (พ.ศ. 2546 - 2549)
  • คอลัมน์นิสต์ “เสียงสตรี” หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ วันเสาร์ (พ.ศ. 2546 - 2550)
  • กรรมการที่ปรึกษาร่วม และกรรมการวิทยานิพนธ์ ระดับปริญญาโท-เอก ในคณะนิเทศศาสตร์ ของสถาบันการศึกษาต่างๆ อาทิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • วิทยากรอบรมหลักสูตร ด้านการสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม ให้แก่ หลักสูตรอบรมผู้นําของสถาบันต่างๆ อาทิ หลักสูตรพัฒนาผู้นําทางสังคม ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หลักสูตรผู้บริหารสื่อมวลชนระดับสูง สถาบันอิศรา หลักสูตรผู้นําการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาวะ สสส. หลักสูตรพัฒนา conceptual thinking สสส. ฯลฯ

ความสนใจพิเศษด้านวิชาการ

Media for change, media reform, social marketing, media and cultural diversity, social determinants of health, spiritual health, media and digital literacy, media and feminism, gender & sexuality, critical theories, etc. 

ทักษะและความถนัดในการทํางาน

  • งานพัฒนายุทธศาสตร์ จากฐานงานวิชาการ และการบริหารจัดการขับเคลื่อนให้งานบรรลุเป้าหมาย
  • งานสร้างเครือข่ายและขับเคลื่อนร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย หรือให้เกิดความยั่งยืนทั้งในด้านงานและด้านคน
  • งานรณรงค์เพื่อผลักดันนโยบาย (advocacy)
  • งานบรรยาย ฝึกอบรม และจัดกระบวนการเผยแพร่ความรู้ด้านสังคม-สุขภาวะ ให้แก่กลุ่มเป้าหมายต่างๆ
  • งานสื่อสารเชิงสร้างสรรค์ที่มาจากการพัฒนา conceptual thinking และการพูดในที่สาธารณะ
  • การประสานความแตกต่างหลากหลาย เพื่อสร้างให้เกิดความร่วมมืออย่างมีพลัง ความตื่นตัว และความพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆ อยู่เสมอ

 

หัวข้อข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวประชาสัมพันธ์

บทสัมภาษณ์ผู้บริหาร

ข่าวกิจกรรม

กลับขึ้นด้านบน