ไทยพีบีเอส ถอดบทเรียน กิจกรรม HACKATHON เพื่อคนพิการ ตามติด 8 โปรเจกต์นวัตกรรมเพิ่มการจ้างงานคนพิการ หวังคนพิการมีงานทำยั่งยืน รายได้มั่นคง
องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) หรือ ไทยพีบีเอส ร่วมกับภาคีเครือข่ายจัดกิจกรรม สรุปและถอดบทเรียน HACKATHON เพื่อคนพิการ : HACK HUG HUG ภายใต้ 4 โจทย์ ได้แก่
- เพิ่มอัตราการจ้างงาน ในภาคเอกชน ( มาตรา 33 )
- ส่งเสริมการมีงานทำในภาครัฐ ( มาตรา 35 )
- ลดการจ่ายเงินเข้ากองทุนคนพิการ ( มาตรา 34 )
- สร้างทางเลือก – อาชีพอิสระแก่คนพิการ
เพื่อทบทวน ร่วมกันสะท้อนความเห็น ข้อเสนอแนะ ติดตามการทำงานขับเคลื่อนการจ้างงานคนพิการอย่างต่อเนื่อง นำไปสู่การสรุปผล และนำเสนอต้นแบบการสนับสนุนการจ้างงานคนพิการ ในวันที่ 3 ธ.ค. 66 ซึ่งตรงกับวัน "คนพิการสากล" สู่การเผยแพร่และใช้ประโยชน์ต่อไป
จินรัตน์ เทียมอริยะ จากมูลนิธินวัตกรรมทางสังคม กล่าวว่า ขณะนี้มีความคืบหน้าในการดำเนินงานในกลุ่มที่ 1 และ 2 ซึ่งมี AIS และบริษัท คิง เพาเวอร์ อินเตอร์เนชันแนล เป็นเจ้าของโจทย์เพิ่มอัตราการจ้างงานมาตรา 33 ในภาคเอกชน ซึ่งมูลนิธินวัตกรรมทางสังคมทำงานโดยมีเป้าหมายเพื่อการเพิ่มการจ้างงานคนพิการอยู่แล้วทำหน้าที่เชื่อมโยงหน่วยงานภาคเอกชนกิจกรรมครั้งนี้เป็นการร่วมมือที่เกินความคาดหวัง เพราะมีหน่วยงานภาครัฐร่วมด้วยจำนวนมาก ในส่วนโจทย์ที่ดูแลกลุ่มบริษัทและมหาวิทยาลัยมีการเตรียมความพร้อมเพื่อให้เกิดนวัตกรรมการจ้างงานกระแสหลัก เช่น ให้เด็กที่พิการในระบบการศึกษา สามารถฝึกงานที่บริษัทเอกชน และเมื่อเรียนจบแล้วมีงานทำทันที โดยมีจำนวน 60 อัตรา ใน 8 บริษัท มี AIS และ บริษัท คิง เพาเวอร์ เป็นต้นแบบในการนำร่อง
"ส่วนโปรเจกต์อื่น ๆ เห็นว่า ไทยพีบีเอสที่เป็นแกนกลางในการจัด "HACKATHON" ควรจะมีการติดตามการดำเนินงานของโปรเจกต์เพื่อสนับสนุนให้โครงการสามารถทำได้สำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม" จินรัตน์ เสนอแนะ
สำหรับ 8 ทีมโปรเจกต์นวัตกรรมเพิ่มการจ้างงานคนพิการ ซึ่งมีเจ้าของโจทย์เป็นหน่วยงานภาครัฐและเอกชน มีรายละเอียดดังนี้
- กลุ่ม 1 เพิ่มอัตราการจ้างงานมาตรา 33 ในภาคเอกชน : Ability Employment "มหาวิทยาลัยตามสั่ง"
โปรแกรมพัฒนาสกิลผู้พิการ ด้วยการอบรมและฝึกงานเตรียมความพร้อมก่อนทำงาน เพื่อให้ผู้พิการมีทักษะที่ตรงกับความต้องการของบริษัท โดยจะสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นบริษัทเอกชน มหาวิทยาลัย หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ เพื่อมาร่วมกันออกแบบหลักสูตร หรือระบบการฝึกงานให้เหมาะสม
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://fb.watch/npZwKaaj--/ หรือ https://youtu.be/zuQJM9ybxxE
- กลุ่มที่ 2 : เพิ่มอัตราการจ้างงาน ม.33 ในภาคเอกชน : DSD ในสถานประกอบการ คอยซัพพอร์ตคนพิการ
DSD : Disability Support & Development ในสถานประกอบการ เป็นหน่วยงาน/แผนกภายในองค์กร ที่ให้การสนับสนุนคนพิการ รวมถึงการพัฒนาศักยภาพคนพิการในองค์กร (คล้ายกับ DSS ในมหาวิทยาลัย) ในภาพระยะยาว จะมีการวางแผนให้ DSD มีแนวทาง Sustainability เพื่อให้แผนกนี้อยู่ได้ด้วยตัวเอง หรืออาจถึงขั้นสร้างรายได้เพิ่มเติมให้สถานประกอบการ เช่น การ Consult โมเดลนี้ให้กับสถานประกอบการเอกชนที่อื่น
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://fb.watch/npZxiI4dTx หรือ https://youtu.be/1MMV7_lctC0
- กลุ่มที่ 3: ส่งเสริมการมีงานทำในภาครัฐ : สร้างความเข้าใจ ไปจ้างงานคนพิการ
เสาะหา Potential partners กับหน่วยงานรัฐ เพื่อมาสร้างการจ้างานให้กับคนพิการ เพราะหน่วยงานภาครัฐไม่รู้ว่าคนพิการทำอะไรได้บ้าง และไม่มีเงินจ้างคนพิการทำงาน ดังนั้นจึงต้องสร้างการรับรู้ในหน่วยงานรัฐ ว่าคนพิการทำอะไรได้บ้าง ผ่านกา รทำ Database ว่าคนพิการ 7 ประเภททำงานอะไรได้บ้างร่วมกับ Partner
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://fb.watch/npZxAO_Aiw หรือ https://youtu.be/IqctJKidvoc
- กลุ่มที่ 4 : เปลี่ยนการจ่ายเงินเข้ากองทุนคนพิการเป็นการจ้างงาน : ระยองโมเดล CSR ส่งต่อความสุข คนพิการมีงานทำ
การเพิ่มการจ้างงานคนพิการเชิงสังคมในสถานประกอบการ และปรับระเบียบการใช้เงินกองทุน ให้สามารถนำไปจ้างงานผู้พิการได้เพิ่มขึ้น เพื่อแก้ปัญหาฝั่งคนพิการให้ทางเลือกรูปแบบงานผู้พิการเพิ่มขึ้น และมีทุนไปจ้างงานคนพิการโดยไม่ต้องผ่านสถานประกอบการ และลดความยุ่งยากซับซ้อนของการดำเนินงานเอกสารให้กับสถานประกอบการ
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://fb.watch/npZxVIQ-kJ หรือ https://youtu.be/WzxS_vxWpXU
- กลุ่มที่ 5 : ลดการจ่ายเงินเข้ากองทุนคนพิการ: ต่อยอดระบบ E - service
การต่อยอดระบบ E - service ที่มีอยู่ เพื่อช่วยให้เจ้าหน้าที่กรมจัดหางานทำงานง่ายขึ้น ลดภาระงานเอกสาร จะทำให้ผู้ประกอบการสะดวกกว่าเดิมในการจ้างงาน และไวขึ้นผ่านการทำระบบเข้าไปเสริมระบบเดิมที่มีอยู่
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://fb.watch/npZyg9b937 หรือ https://youtu.be/u_s0OCNtFCE
- กลุ่มที่ 6 : เปลี่ยนการจ่ายเงินเข้ากองทุนคนพิการเป็นการจ้างงาน : เคาะประตูทอดสะพาน เพิ่มการจ้างงานคนพิการ 4,000 อัตรา
มีกิจกรรมสร้างสร้างความเข้าใจเรื่องการจ้างงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และการแก้กฎเพื่อลดแรงจูงใจการจ่ายเงิน
ดูข้อมูลเพิ่มได้ที่ https://fb.watch/npZyPxP1Jp หรือ https://youtu.be/XJlyl-2-7Gg
- กลุ่มที่ 7 : สร้างทางเลือก – อาชีพอิสระแก่คนพิการ : โครงการหากันจนเจอพาเธอให้ยั่งยืน
การพัฒนาระบบ Matching จ้างงานตรงระหว่างคนพิการและองค์การที่ต้องการจ้างคนพิการ ในการประกอบอาชีพอิสระ และพัฒนาอาชีพอิสระสู่ผู้ประกอบการที่ยั่งยืน เพื่อรองรับความไม่แน่นอนในการได้รับการสนับสนุนการจ้างงานใน ม.35 อย่างต่อเนื่อง
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://fb.watch/nq06zq-2OY หรือ https://youtu.be/YTSQ30mog5U
- กลุ่มที่ 8 : สร้างทางเลือก – อาชีพอิสระแก่คนพิการ : dEcosystem
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) เป็นเจ้าของโจทย์ในการจัดทำ Platform Academy ที่มีการอบรมเพื่อให้ได้ใบประกาศทั้งหมด แก้ปัญหาการไม่ได้รับการยอมรับในความรู้ความสามารถขอคนพิการ เพราะคนพิการมีเพียง 10% ที่เรียนจบมัธยมศึกษา อีกทั้งมีพื้นที่ เช่น เวที แพลตฟอร์ม ดิจิทัล เพื่อเป็นพื้นที่ในการแสดงความรู้ ความสามรถของคนพิการ และทำ CV portfolio ให้คนทั่วไปรู้ว่าคนพิการทำอะไรได้บ้าง ได้แค่ไหน ตลอดจนสร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการ ราชการ กองทุน อยากลงทุนกับคนพิการ ในการสร้างกิจการเพื่อให้เกิดความมั่นคง ง่าย ในการที่จะประกอบอาชีพ
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://fb.watch/nq07Tj0RgD หรือ https://youtu.be/H6DEKlODK4s
สามารถติดตามไทยพีบีเอสทุกช่องทางออนไลน์ ได้ที่
▪ Social Media Thai PBS : Facebook, YouTube, X (Twitter), LINE, TikTok, Instagram
▪ Website : www.thaipbs.or.th
▪ Application : Thai PBS