ไทยพีบีเอส คว้าอันดับ 4 ใน 10 อันดับแบรนด์กลุ่มสื่อฯ ที่ทำผลงานบนโซเชียลมีเดียสูงสุดในช่วงครึ่งปีแรก 2566

ไทยพีบีเอส คว้าอันดับ 4 แบรนด์ที่ทำผลงานบนโซเชียลมีเดียสูงสุดในครึ่งปีแรก 2566 ชี้สถานการณ์การเมือง - วาระเลือกตั้ง ประเด็นฮอตชาวโซเชียลเกาะติดคับคั่ง ประกาศครึ่งปีหลังเฟ้นหาคอนเทนต์โดนใจแฟนไทยพีบีเอสในแต่ละแพลตฟอร์มมากขึ้น

Thailand Social Awards เปิดรายชื่อ 10 อันดับแบรนด์ 29 กลุ่มธุรกิจที่ทำผลงานสูงสุดบนโลกโซเชียลครึ่งแรกของปี 2566 ซึ่งเกณฑ์การวัดผลได้ถูกพัฒนาร่วมกับคณะที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 14 ท่าน ร่วมกำหนดเกณฑ์การวัดผล จัดหมวดหมู่ของกลุ่มธุรกิจ และให้ความคิดเห็นในประเด็นต่าง ๆ เพื่อให้เกณฑ์การวัดผลออกมาสมบูรณ์ และเหมาะสมกับสถานการณ์ของโซเชียลมีเดียในปัจจุบัน 

ทั้งนี้ ไทยพีบีเอส ติด 1 ใน 10 กลุ่มสื่อวิทยุและโทรทัศน์ ภายใต้การดูแลของ กสทช. "แบรนด์ที่ทำผลงานบนโซเชียลมีเดียสูงสุดในครึ่งปีแรก 2566" สูงขึ้นจากปีก่อน 3 อันดับ โดยได้รับ BRAND Score 38, OWN Score 4.2, EARN Score 3.1, SENTIMENT Score 40%


น.ส.กนกพร ประสิทธิ์ผล
ผู้อำนวยการสำนักสื่อดิจิทัล องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) ไทยพีบีเอส กล่าวว่า การเติบโตของ Social Media นอกจากปัจจัยการทำคอนเทนต์ที่ดี ถูกใจผู้ชมผู้ฟังตามกลยุทธ์ของไทยพีบีเอสแล้ว สถานการณ์หรือเหตุการณ์ของสังคม เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้เกิดกระแสความสนใจในการเข้ามาติดตามข้อมูลทาง Social Media ช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา

กนกพร ประสิทธิ์ผล ผู้อำนวยการสำนักสื่อดิจิทัล ไทยพีบีเอส

สถานการณ์การเมือง ทั้งช่วงก่อนการเลือกตั้ง วันเลือกตั้งในเดือนพฤษภาคม รวมถึงการจัดตั้งรัฐบาล เป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจ และไทยพีบีเอสให้ความสำคัญกับวาระเลือกตั้งอย่างเข้มข้นตั้งแต่ช่วงปลายปี 2565 โดยเฉพาะช่องทางออนไลน์ทุกแพลตฟอร์มทั้งเว็บไซต์และสื่อสังคมออนไลน์ มีคอนเทนต์จำนวนมากในทุกรูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับแต่ละแพลตฟอร์ม แต่ละช่วงเวลาอย่างต่อเนื่อง ผสมผสานการใช้เทคโนโลยี AI มีความแปลกใหม่ของการเล่าเรื่องในคอลัมน์ใหม่ ๆ ที่ออกมาในแบบ Gaming, Interactive ไทยพีบีเอสให้ความสำคัญกับ Engagement กับผู้ชมผู้ฟังในแต่ละช่องทาง นอกจากนั้นยังวางกลยุทธ์ของการเชื่อมร้อยกับสื่อโทรทัศน์เพื่อสร้างการเชื่อมโยงแฟน ๆ ในทุกแพลตฟอร์มด้วย


"การแข่งขันหรือกลยุทธ์การทำเนื้อหาบน Social Media ปัจจุบัน ไม่ง่ายเหมือนสมัยก่อน และคงไม่ได้วัดกันแค่กลุ่มสื่อ มีปัจจัยที่ควบคุมได้ยากหลายอย่างมากขึ้น ทั้งสถานการณ์ เหตุการณ์ทางสังคมที่คาดการณ์ไม่ได้ การเปลี่ยนแปลงของแพลตฟอร์ม ซึ่งไทยพีบีเอส ปรับแผนและเรียนรู้ ทดลองสิ่งใหม่ ๆ ตลอดเวลา ในอนาคตจึงต้องให้ความสำคัญกับความเป็น Segmentation ที่เจาะจงมากขึ้น เฟ้นหาความเป็น Personalized ของแฟน ๆ แต่ละ social media platform จากทั้งเครื่องมือทางเทคโนโลยี หรือการใช้ Data ให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงยังคงมุ่งมั่นคัดสรรนำเสนอเนื้อหาสาระที่มีคุณภาพ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสาธารณะ ทำหน้าที่สื่อสารธารณะเพื่อทุกคนอย่างเต็มที่ต่อไป" ผู้อำนวยการสำนักสื่อดิจิทัล ไทยพีบีเอส กล่าว

นอกจากนี้ทุกแพลตฟอร์มสื่อดิจิทัล ของไทยพีบีเอส ในกลุ่มที่มีการวัดผลไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, TikTok, Twitter และ YouTube ในช่วงครึ่งปีแรก 2566 มีจำนวนผู้ติดตาม หรือ Follower รวมถึงจำนวนความสนใจที่บุคคลมีต่อเนื้อหาของแบรนด์ ซึ่งแสดงออกมาจากยอดวิว และจำนวนข้อความต่อหนึ่งผู้ใช้งานต่อวันที่พูดถึงแบรนด์บนโซเชียลมีเดีย (Unique Daily Social Mentions) เพิ่มมากขึ้นทุกแพลตฟอร์ม ในเชิงคุณภาพ มีผู้ที่แสดงความคิดเห็น ส่งต่อเนื้อหา สนับสนุนเนื้อหากดไลฟ์ กดแชร์ มีส่วนร่วม รวมถึงแนะนำให้กับบุคคลอื่นในการเสพคอนเทนต์เนื้อหาต่าง ๆ สามารถนำข้อมูลไปปรับใช้ในการทำงานได้

สำหรับเกณฑ์การวัดประสิทธิภาพการสื่อสาร หรือ WISESIGHT BRAND METRIC นี้คิดคำนวณจาก 4 ค่าชี้วัด คือ

1. ค่าชี้วัดแบรนด์ (BRAND SCORE) ค่าชี้วัดผลประสิทธิภาพการทำงานบนโซเชียลมีเดียของแบรนด์ในกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ โดยวัดประสิทธิภาพการสื่อสารจากช่องทางหลักของแบรนด์ (Own Chanel) และจากช่องทางที่คนอื่นพูดถึงแบรนด์ (Earn Channel) ผ่าน 5 ช่องทาง คือ Facebook, Instagram, TikTok, Twitter และ YouTube โดยพิจารณาผ่าน 2 มุมมองหลักคือ การวัดประสิทธิภาพเชิงปริมาณ และ การวัดประสิทธิภาพเชิงคุณภาพ โดยมีรายละเอียดดังนี้

การวัดประสิทธิภาพเชิงปริมาณ พิจารณาจาก

  • จำนวนผู้ติดตาม (Follower)
  • การเติบโตของผู้ติดตาม (Fan Growth)
  • จำนวนความสนใจที่บุคคลมีต่อเนื้อหาของแบรนด์ (View & Interaction)
  • จำนวนข้อความต่อหนึ่งผู้ใช้งานต่อวันที่พูดถึงแบรนด์บนโซเชียลมีเดีย (Unique Daily Social Mentions)

การวัดประสิทธิภาพเชิงคุณภาพ พิจารณาจาก

  • สัดส่วนของการแสดงความคิดเห็น และการส่งต่อเนื้อหาของแบรนด์ (Comment & Share Ratio)
  • การสนับสนุนเนื้อหาของแบรนด์โดยการแนะนำให้กับบุคคลอื่น (Advocacy)
  • จำนวนเนื้อหาที่แสดงความสนใจซื้อที่มีต่อแบรนด์ (Intention)
  • ความคิดเห็นที่มีต่อแบรนด์ (Sentiment)

2. ค่าชี้วัดประสิทธิภาพการสื่อสารจากช่องทางหลักของแบรนด์ (OWN SCORE) ใน 5 ช่องทาง (Facebook, Instagram, TikTok, Twitter และ YouTube)

3. ค่าชี้วัดประสิทธิภาพการสื่อสารจากช่องทางที่คนอื่นพูดถึงแบรนด์ (EARN SCORE) ใน 5 ช่องทาง (Facebook, Instagram, TikTok, Twitter และ YouTube)

4. ค่าชี้วัดการแสดงความคิดเห็นที่มีต่อแบรนด์ (SENTIMENT SCORE)

สามารถติดตามไทยพีบีเอสทุกช่องทางออนไลน์ ได้ที่

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวประชาสัมพันธ์

บทสัมภาษณ์ผู้บริหาร

ข่าวกิจกรรม

กลับขึ้นด้านบน