ไทยพีบีเอสจัดสัมมนา “ทิศทางอุตสาหกรรมดิจิตอลทีวีประเทศไทยปี 2560”

เมื่อเร็วๆนี้ ไทยพีบีเอสจัดงานสัมมนา “ทิศทางของอุตสาหกรรมดิจิตอลทีวีประเทศไทย ปี 2560” รวมทั้งได้กล่าวถึงทิศทางการให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล และสิ่งอำนวยความสะดวกด้านกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ของไทยพีบีเอส ในปี 2560 เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ใช้บริการฯ โดยการสัมมนาในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก พันเอก ดร.นที ศุกลรัตน์ ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ร่วมปาฐกถา ในหัวข้อ“ทิศทางของอุตสาหกรรมดิจิตอลทีวีประเทศไทยใน ปี 2560” และนายกฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส กล่าวถึงทิศทางของไทยพีบีเอสในปี 2560 เกี่ยวกับการให้บริการโครงข่ายฯ และสิ่งอำนวยความสะดวกฯ ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว 

ดร.นที ศุกลรัตน์ ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวปาฐกถาว่า

ทิศทางดิจิตอลทีวีในปี 2560 จะต้องดีกว่าปี 2559 เนื่องจากปัญหาต่างๆ ได้รับการแก้ไขมาแล้วพอสมควร และโครงข่ายได้ขยายไปแล้วถึง 90% ในเดือนมิถุนายนที่ผ่ามา และจะขยับไปอยู่ที่ 95% ในเดือนมินถุนายนปี 2560 ซึ่งชัดเจนว่าเกือบทุกครัวเรือนในประเทศไทย จะสามารถรับชมทีวีในระบบดิจิตอลได้

 

นอกจากนี้ประเทศไทยเรายังถือเป็นประเทศแรกที่สามารถรับชมผ่านโทรศัพท์เคลื่อนได้ด้วย เปอร์เซ็นต์ของช่องทางในการรับชมทีวีดิจิตอล ดาวเทียม ภาคพื้นดิน และเคเบิ้ล พบว่ามีประชาชนดูทีวีผ่านระบบดิจิตอล 30% คนดูผ่านระบบแอนะล็อก 9% โดยถือว่าประเทศไทยอยู่ในช่วงขยายโครงข่ายแบบเดียวกับประเทศอังกฤษ หรือประเทศฝรั่งเศส มีคนดูดิจิตอลทีวีผ่านโครงข่ายภาคพื้นดิน มากกว่าถึง 40% ซึ่งการรับชมผ่านโครงข่ายภาคพื้นดิน ประชาชนก็จะได้รับสัญญาณที่ชัดเจนมีคุณภาพที่ดีกว่า ไม่มีปัญหาเรื่องของฝนฟ้าคะนอง

สำหรับพฤติกรรมการชมโทรทัศน์ปี 2558 - 2559 ช่องรายการเดิมจาก 148 นาที/คน/วัน เป็น 128 นาที/คน/วัน อันดับสองช่องดิจิตอลในปี 2558 จาก 94 นาที/คน/วัน เป็น 123 นาที/คน/วัน ซึ่งหมายความว่าประชาชนไม่มีการแบ่งแยกช่องเก่าช่องใหม่ สัดส่วนการเปลี่ยนแปลงมูลค่าโฆษณาของสื่อ 120,3000,000,000 เหลือ 107,000,000,000 จะเห็นได้ว่าทีวีแอนะล็อกลดลง 3% ในขณะที่ ทีวีดิจิตอลช่องใหม่เพิ่มขึ้น 2%

นายกฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส กล่าวถึงทิศทางของไทยพีบีเอสในปี 2560 เกี่ยวกับการให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล และสิ่งอำนวยความสะดวกด้านกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ว่า

 

 

การออกแบบและวางแผนโครงข่ายฯ ของไทยพีบีเอสเป็นไปตามมาตรฐานสากล ITU-R BT.2254 , ITU-R BT.2033 , EBU-TECH 3348 ,Technical Guidelines for Digital Terrestrial Television Broadcasting วิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร ไฟฟ้ากำลัง และข้อกำหนดของสำนักงาน กสทช.

เราขอยืนยันว่าระบบของเราเป็นไปตามมารตฐานสากลทั่วโลก การออกแบบและวางแผนโครงข่ายโทรทัศน์ใช้ Software ที่ทันสมัยซึ่งเป็นมาตรฐานเดียวกันกับ ITU และสำนักงาน กสทช. รวมทั้งมีทีมงานที่มีประสบการณ์ในการสร้างโครงข่ายโทรทัศน์มากว่า 30 ปี ทำให้เราสามารถดำเนินการตามแผนที่วางได้ทั้งหมด และสามารถดูแลผู้ใช้บริการทั้งการให้บริการโครงข่ายฯ และสิ่งอำนวยความสะดวก ฯ ได้ดีขึ้น

ไทยพีบีเอสมุ่งมั่นเป็นผู้นำด้านโครงข่ายโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิตอล ซึ่งได้รับความไว้วางใจจากสำนักงาน กสทช.ให้เป็นผู้นำโครงข่ายโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลระดับชาติ (Network Provider) โดยจะมีสถานีส่งสัญญาณโทรทัศน์รวมทั้งสิ้น 168 สถานี ประกอบด้วย สถานีหลัก 39 สถานีสถานีเสริม 129 สถานี ซึ่งจะต้องดำเนินการขยายโครงข่าย ให้สามารถครอบคลุม ครัวเรือนได้อย่างน้อยร้อยละ 95 ของจำนวนครัวเรือนทั้งประเทศภายใน 4 ปีนับจากวันที่ได้รับอนุญาต

ปัจจุบัน ไทยพีบีเอสสามารถขยายโครงข่ายไปแล้ว 39 สถานีหลัก และ 49 สถานีเสริม ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการถึง 77 จังหวัด ซึ่งคาดว่าจะสามารถดำเนินการขยายโครงข่ายครอบคลุมจำนวนครัวเรือนได้ตามแผนที่สำนัก กสทช. กำหนด นอกจากนั้นผู้ให้บริการโทรทัศน์ (Service Provider) จำนวน 4 ช่องประกอบด้วยช่อง 3 HD, ช่อง3 SD, ช่อง 3Family และ RS ช่อง 8 ยังมีความเชื่อมั่น และไว้วางใจ ในการใช้บริการโครงข่ายของ ส.ส.ท. และเป็นผู้นำในการให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกด้านกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ ให้แก่ สถานีวิทยุกองทัพบก บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) และกรมประชาสัมพันธ์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวประชาสัมพันธ์

บทสัมภาษณ์ผู้บริหาร

ข่าวกิจกรรม

กลับขึ้นด้านบน